วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ทำไมสวนขวดถึงไม่ต้องรดน้ำ

สวนขวด (Terrarium)
จะเมินต้นไม้ยังไง ให้ได้ผลดี!

สวนขวด ที่เรารู้จักกันอยู่ทุกวันนี้ เกิดจากอุบัติเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจ แม้ว่าชาวกรีกจะปลูกและประดับต้นไม้ในสถานที่ปิด ซึ่งมีภาชนะที่โปร่งใสที่เกิดขึ้นในยุคก่อน ค.ศ. 500 ปี แต่ในปี ค.ศ. 1827 ดร.นาธานนีล วาร์ด นักฟิสิกส์ชาวลอนดอน ผู้หลงใหลในพฤกษศาสตร์ ค้นพบหลักวิทยาศาสตร์ที่ซ่อนอยู่ในสวนขวด


สวนวาร์เดี้ยนสำหรับทุกที่



ขณะที่ดร.นาธานนีล วอร์ด ศึกษาเกี่ยวกับ ผีเสื้อกลางคืนสฟิงซ์ (Sphinx Moth) ซึ่งกำลังออกมาจากรังไหมที่ถูกฝังอยู่ในพื้นดินชื้นๆ ดร.ก็ได้ค้นพบเฟิร์นเล็กๆ และหญ้าเติบโตขึ้นในดินภายในขวดโหล และน่าประหลาดใจที่ต้นไม้พวกนี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆภายในภาชนะที่มีฝาปิด จนถึง 4 ปีโดยที่ไม่ได้ให้น้ำเลย ผลการทดลองของ ดร.วอร์ดในประเด็นนี้ทำให้เกิดสวนขวด หรืออีกชื่อหนึ่ง “Wardian Cases” ซึ่งเป็นชื่อที่เราเรียกกันทุกวันนี้ และได้รับความนิยมในฐานะของประดับโชว์ภายในบ้าน

อุ้ย!! ฉันลืมรดน้ำต้นไม้อีกแล้ว


สวนขวด สวนแก้ว จริงๆแล้วเป็นระบบนิเวศน์เล็กซึ่งยังชีพได้ด้วยตัวของมันเอง เพราะสวนขวด สวนแก้ว นั้นนำความชื้นกลับมาใช้ใหม่ (recycle นั่นเอง) เขาต้องการความสนใจและการดูและน้อยมาก จุดที่น่าแปลกมากที่สุดคือตันไม้ที่เจริญเติบโตในสวนขวด สวนแก้ว ไม่ต้องการน้ำเป็นระยะเวลานาน และยังงอกงามเป็นปีโดยปราศจากน้ำ

พบตัวทำฝน

มันเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อที่สวนขวดสวนแก้วจะสร้างระบบเศรษฐศาสตร์จุลภาคด้านในภาชนะธรรมดาได้อย่างไร ความชื้นระเหยจากดินและใบไม้ แล้วเกาะจับอยู่ด้านบนหลังคาและกำแพงของสวนขวด รวมกันเป็นน้ำหยดลงมาอย่างรวดเร็ว สร้างความชุ่มชื้นให้ดินอีกครั้ง เหมือนกับวัฏจักรฝนตามธรรมชาติที่ทำให้โลกยังคงดำเนินต่อไป


สวนขวด(Terrarium) จะสร้างความน่าสนใจให้กับบ้าน


ถ้าคุณมีอ่างเลี้ยงปลาว่างๆ, ตู้ปลา หรือโหลแก้ว ไม่ก็ ขวดในบ้าน คุณสามารถนำมาทำสวนขวด สวนแก้ว ได้อย่างง่ายดาย หรือคุณจะหาภาชนะที่ออกแบบมาเพื่อทำสวนขวด มาตกแต่งก็ได้ ภาชนะนั้นต้องทำจากแก้วหรือพลาสติกใสซึ่งดีทีสุดต่อต้นไม้ของคุณ แต่ถ้าเป็นภาชนะที่แต้มสี หรือขุ่นมัวจะทำให้ลดทอนการส่งแสง และมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ สวนขวดแบบปิดนั้นจะรักษาความชุ่มชื้นได้มากกว่า ในขณะที่สวนแบบเปิดนั้นต้องการน้ำบ่อยกว่าแต่ค่อนข้างจะมีโรคน้อยกว่า
(Thank you for picture from :scribbit.blogspot.com/2008/09/tiny-terrariums-mini-gardens-and.html and www.plantexplorers.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น